ทักษะทางการเงินกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร กรณีศึกษาจังหวัดตรัง

การสำรวจทักษะทางการเงินของคนในหลายประเทศทั่วโลกพบว่าระดับทักษะทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่นเดียวกันกับการสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทยโดย OECD รวมถึงการสำรวจของธนาคารแห่ง ประเทศไทยร่วมกับส านักงานสถิติแห่งชาติ ก็ได้ผลไม่ขัดแย้งกัน ท าให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ให้ความสำคัญที่จะเพิ่มทักษะทางการเ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ดลินา อมรเหมานนท์, แสงอรุณ อิสระมาลัย
Other Authors: Faculty of Commerce and Management
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2022
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17701
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/296500
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:การสำรวจทักษะทางการเงินของคนในหลายประเทศทั่วโลกพบว่าระดับทักษะทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่นเดียวกันกับการสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทยโดย OECD รวมถึงการสำรวจของธนาคารแห่ง ประเทศไทยร่วมกับส านักงานสถิติแห่งชาติ ก็ได้ผลไม่ขัดแย้งกัน ท าให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ให้ความสำคัญที่จะเพิ่มทักษะทางการเงินของคนในชาติ เนื่องจากรู้ถึงประโยชน์ของการมีทักษะทางการเงิน ที่ดีอันเป็นรากฐานสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่าระดับทักษะทางการเงินมี ผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลักทั้งสามด้านของทักษะ ทางการเงิน คือ ความรู้ทางการเงิน ทัศนคติการใช้จ่ายเงิน และพฤติกรรมทางการเงิน โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวกับประชากรจังหวัดตรัง ผลการศึกษาจากการประยุกต์ KAP Model โดยใช้ Structural Equation Model (SEM) พบว่าระดับทักษะทางการเงินมีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล โดย ปัจจัยด้านพฤติกรรมทางการเงินมีผลต่อระดับทักษะทางการเงินมากที่สุดผ่านทางองค์ประกอบด้านทัศนคติ ทางการเงิน ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือความรู้ทางการเงินที่มีมากขึ้นไม่ได้ช่วยให้ บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นี่อาจเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดการส่งเสริมและผลักดันนโยบายให้ความรู้ ทางการเงินของภาครัฐในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยกลับไม่ได้มีผลท าให้ระดับทักษะทางการเงินของคนสูงขึ้น ดังนั้นหากต้องการยกระดับทักษะทางการเงิน ภาครัฐต้องมีความคาดหวังว่าเมื่อประชากรมีความรู้เข้าใจทางการเงินแล้ว บุคคลต้องปรับทัศนคติความเชื่อของตนจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีกทั้งต้องสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้จริงดังคำกล่าวที่ว่า “เรียนรู้จนเข้าถึง จึงนำไปใช้อย่างได้ผล”