การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล เพื่อศึกษาความต้องการการฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมก่อนและห...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Language: | Thai |
Published: |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตปัตตานี
2023
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17811 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | Thai |
id |
th-psu.2016-17811 |
---|---|
record_format |
dspace |
institution |
Prince of Songkhla University |
building |
Khunying Long Athakravi Sunthorn Learning Resources Center |
continent |
Asia |
country |
Thailand Thailand |
content_provider |
Khunying Long Athakravi Sunthorn Learning Resources Center |
collection |
PSU Knowledge Bank |
language |
Thai |
topic |
ความเหลื่อมล้ำ ความรู้ดิจิทัล |
spellingShingle |
ความเหลื่อมล้ำ ความรู้ดิจิทัล นวพล แก้วสุวรรณ ฐะปะนีย์ เทพญา ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล |
description |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล เพื่อศึกษาความต้องการการฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมก่อนและหลังฝึกอบรมด้วยหลักสูตรและศึกษาความพึงพอใจของผู้รับการฝึกอบรม กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาและมีการดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบผสมผสานวิธี ใช้แบบสอบถาม ประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรมหลักสูตร และแบบประเมินความพึงพอใจหลักสูตรฝึกอบรม กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในอำเภอเมือง อำเภอมะนัง จังหวัดสตูลและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งทำการคัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง โดยการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงคุณภาพ โดยการสังเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตามแนวทางกระบวนการการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนนทีและค่าคะแนนมาตรฐานซี ผลวิจัยพบว่า 1. สภาพการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศภาครัฐ และสารสนเทศอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน การไม่รับรู้ข่าวสารจากการประชาสัมพันธ์เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเข้าไม่ถึงบริการภาครัฐบาล เช่นเดียวกับปัจจัยทางด้านช่วงวัย ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมที่ส่งผลให้การรับรู้สารสนเทศเกิดความไม่เท่าเทียมกัน สืบเนื่องจาก ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน ด้วยส่วนใหญ่ประชาชนมีรายได้มาจากการทำอาชีพเกษตรกรจึงอาจส่งผลให้การซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสื่อสารและเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของภาครัฐเป็นไปได้ยากอีกทั้งแบรนด์และรุ่นของอุปกรณ์สื่อสารก็อาจจะไม่มีความทันสมัยต่อการรองรับสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่วิจัยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีสองช่วงวัย คือ ประชาชนผู้สูงอายุและกลุ่มเยาวชน ดังนั้นประสบการณ์ในการใช้อุปกรณ์สื่อสารในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ รวมถึงความต้องการในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศและความรู้ทางด้านการบริการของภาครัฐบาลจึงไม่ใช้จุดประสงค์หลักในการแสวงหาความรู้ เช่นเดียวกันกับการรับรู้สารสนเทศทางด้านการบริการของภาครัฐบาล 2. ความต้องการฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่มีการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลที่ไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอและมีความเหลื่อมล้ำ เนื่องมาจากการที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการหรือสารสนเทศของรัฐได้อย่างเหมาะสม อันจะส่งผลต่อการเกิดภาวะขาดความรู้บางประการ หรือเสียสิทธิประโยชน์ของตนเองที่ควรจะเป็นสวัสดิการหนึ่งของตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่า ประชาชนในพื้นที่ทุกคนล้วนต้องการได้รับการฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐ เพื่อการสงวนสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองและมีความต้องการสารสนเทศด้านการบริการของภาครัฐอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับสารสนเทศและความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเกี่ยวกับการบริการของภาครัฐบาลที่มีส่วนร่วมกับการเข้าถึงข้อมูลของชุมชน 3. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ในด้านโครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรมมีความครบถ้วน ถูกต้อง เหมาะสมต่อการนำไปใช้ฝึกอบรม และสอดคล้องกับโครงการวิจัย ทั้งในหัวข้อชื่อหลักสูตรฝึกอบรม คำอธิบายหลักสูตรฝึกอบรม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม หัวข้อเนื้อหาการฝึกอบรม การเขียนแผนการฝึกอบรมครบตามองค์ประกอบที่สำคัญทุกประเด็น กิจกรรมการฝึกอบรม/สื่อประกอบการฝึกอบรม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การประเมินผล เอกสารอ้างอิงที่ใช้ในการฝึกอบรม ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม โครงสร้างเวลาการฝึกอบรม มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมและสอดคล้องจุดเน้นสู่การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนหรือผู้เข้าฝึกอบรมให้มีความสามารถและทักษะสู่ศตวรรษที่ 21 4. การหาประสิทธิภาพนวัตกรรมหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กับประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประสิทธิภาพ E1 / E2 ของอำเภอเมือง เท่ากับ 80.14 / 81.30 และอำเภอมะนัง เท่ากับ 80.38 / 80.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80 แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ โดยการใช้หลักสูตรฝึกอบรมโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมก่อนและหลังฝึกอบรมด้วยหลักสูตรและศึกษาความพึงพอใจของผู้รับการฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมอำเภอเมือง มีค่าคะแนนทีเฉลี่ยก่อนเข้าร่วมฝึกอบรมเท่ากับ 43.16 ในส่วนของคะแนนทีเฉลี่ยหลังเข้าร่วมฝึกอบรม มีค่าเท่ากับ 59.59 ซึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.06 ทั้งนี้ในส่วนของผู้เข้าร่วมฝึกอบรมอำเภอมะนัง มีค่าคะแนนทีเฉลี่ยก่อนเข้าร่วมฝึกอบรมเท่ากับ 42.77 โดยมีคะแนนทีเฉลี่ยหลังเข้าร่วมฝึกอบรมเท่ากับ 58.54 ซึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.86 และในส่วนของความพึงพอใจการเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นด้านวิทยากรส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมสามารถนำสารสนเทศ และความรู้ที่ได้รับไปสู่การประกอบการตัดสินใจและทำให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเกิดทักษะและความคิดที่หลากหลาย การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ ในท้องถิ่น หรือชุมชนในการจัดฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาลในชุมชนได้ อีกทั้งช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐให้แก่ประชาชนและหน่วยงานในท้องถิ่น ช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้และทักษะในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลในชีวิตประจำวันได้อย่างรอบคอบ ไม่ด่วนสรุป ไม่หลงเชื่อและสามารถตัดสินใจใช้ข้อมูลได้อย่างมีวิจารณญาณ สร้างสรรค์และน่าเชื่อถือไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น |
author2 |
วิจัยวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประจำปีงบประมาณ 2564 |
author_facet |
วิจัยวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประจำปีงบประมาณ 2564 นวพล แก้วสุวรรณ ฐะปะนีย์ เทพญา ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง |
author |
นวพล แก้วสุวรรณ ฐะปะนีย์ เทพญา ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง |
author_sort |
นวพล แก้วสุวรรณ |
title |
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล |
title_short |
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล |
title_full |
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล |
title_fullStr |
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล |
title_full_unstemmed |
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล |
title_sort |
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล |
publisher |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตปัตตานี |
publishDate |
2023 |
url |
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17811 |
_version_ |
1762854911026921472 |
spelling |
th-psu.2016-178112023-02-20T09:04:55Z การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล The Development of a Training Curriculum to bridge the Information and Digital Divide Gap for Government Services in Local Communities: Case Study in Satun Province, Thailand นวพล แก้วสุวรรณ ฐะปะนีย์ เทพญา ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง วิจัยวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประจำปีงบประมาณ 2564 Faculty of Humanities and Social Sciences (Library and Information Science) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ความเหลื่อมล้ำ ความรู้ดิจิทัล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล เพื่อศึกษาความต้องการการฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมก่อนและหลังฝึกอบรมด้วยหลักสูตรและศึกษาความพึงพอใจของผู้รับการฝึกอบรม กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดสตูล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาและมีการดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบผสมผสานวิธี ใช้แบบสอบถาม ประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรมหลักสูตร และแบบประเมินความพึงพอใจหลักสูตรฝึกอบรม กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในอำเภอเมือง อำเภอมะนัง จังหวัดสตูลและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งทำการคัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง โดยการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงคุณภาพ โดยการสังเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตามแนวทางกระบวนการการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนนทีและค่าคะแนนมาตรฐานซี ผลวิจัยพบว่า 1. สภาพการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศภาครัฐ และสารสนเทศอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน การไม่รับรู้ข่าวสารจากการประชาสัมพันธ์เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเข้าไม่ถึงบริการภาครัฐบาล เช่นเดียวกับปัจจัยทางด้านช่วงวัย ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมที่ส่งผลให้การรับรู้สารสนเทศเกิดความไม่เท่าเทียมกัน สืบเนื่องจาก ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน ด้วยส่วนใหญ่ประชาชนมีรายได้มาจากการทำอาชีพเกษตรกรจึงอาจส่งผลให้การซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการสื่อสารและเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของภาครัฐเป็นไปได้ยากอีกทั้งแบรนด์และรุ่นของอุปกรณ์สื่อสารก็อาจจะไม่มีความทันสมัยต่อการรองรับสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่วิจัยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีสองช่วงวัย คือ ประชาชนผู้สูงอายุและกลุ่มเยาวชน ดังนั้นประสบการณ์ในการใช้อุปกรณ์สื่อสารในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ รวมถึงความต้องการในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศและความรู้ทางด้านการบริการของภาครัฐบาลจึงไม่ใช้จุดประสงค์หลักในการแสวงหาความรู้ เช่นเดียวกันกับการรับรู้สารสนเทศทางด้านการบริการของภาครัฐบาล 2. ความต้องการฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่มีการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลที่ไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอและมีความเหลื่อมล้ำ เนื่องมาจากการที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการหรือสารสนเทศของรัฐได้อย่างเหมาะสม อันจะส่งผลต่อการเกิดภาวะขาดความรู้บางประการ หรือเสียสิทธิประโยชน์ของตนเองที่ควรจะเป็นสวัสดิการหนึ่งของตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่า ประชาชนในพื้นที่ทุกคนล้วนต้องการได้รับการฝึกอบรมการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐ เพื่อการสงวนสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองและมีความต้องการสารสนเทศด้านการบริการของภาครัฐอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับสารสนเทศและความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเกี่ยวกับการบริการของภาครัฐบาลที่มีส่วนร่วมกับการเข้าถึงข้อมูลของชุมชน 3. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ในด้านโครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรมมีความครบถ้วน ถูกต้อง เหมาะสมต่อการนำไปใช้ฝึกอบรม และสอดคล้องกับโครงการวิจัย ทั้งในหัวข้อชื่อหลักสูตรฝึกอบรม คำอธิบายหลักสูตรฝึกอบรม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม หัวข้อเนื้อหาการฝึกอบรม การเขียนแผนการฝึกอบรมครบตามองค์ประกอบที่สำคัญทุกประเด็น กิจกรรมการฝึกอบรม/สื่อประกอบการฝึกอบรม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การประเมินผล เอกสารอ้างอิงที่ใช้ในการฝึกอบรม ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม โครงสร้างเวลาการฝึกอบรม มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมและสอดคล้องจุดเน้นสู่การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนหรือผู้เข้าฝึกอบรมให้มีความสามารถและทักษะสู่ศตวรรษที่ 21 4. การหาประสิทธิภาพนวัตกรรมหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล กับประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประสิทธิภาพ E1 / E2 ของอำเภอเมือง เท่ากับ 80.14 / 81.30 และอำเภอมะนัง เท่ากับ 80.38 / 80.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80 แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ โดยการใช้หลักสูตรฝึกอบรมโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมก่อนและหลังฝึกอบรมด้วยหลักสูตรและศึกษาความพึงพอใจของผู้รับการฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมอำเภอเมือง มีค่าคะแนนทีเฉลี่ยก่อนเข้าร่วมฝึกอบรมเท่ากับ 43.16 ในส่วนของคะแนนทีเฉลี่ยหลังเข้าร่วมฝึกอบรม มีค่าเท่ากับ 59.59 ซึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.06 ทั้งนี้ในส่วนของผู้เข้าร่วมฝึกอบรมอำเภอมะนัง มีค่าคะแนนทีเฉลี่ยก่อนเข้าร่วมฝึกอบรมเท่ากับ 42.77 โดยมีคะแนนทีเฉลี่ยหลังเข้าร่วมฝึกอบรมเท่ากับ 58.54 ซึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.86 และในส่วนของความพึงพอใจการเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นด้านวิทยากรส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมสามารถนำสารสนเทศ และความรู้ที่ได้รับไปสู่การประกอบการตัดสินใจและทำให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเกิดทักษะและความคิดที่หลากหลาย การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ ในท้องถิ่น หรือชุมชนในการจัดฝึกอบรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐบาลในชุมชนได้ อีกทั้งช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลด้านการบริการของภาครัฐให้แก่ประชาชนและหน่วยงานในท้องถิ่น ช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้และทักษะในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลในชีวิตประจำวันได้อย่างรอบคอบ ไม่ด่วนสรุป ไม่หลงเชื่อและสามารถตัดสินใจใช้ข้อมูลได้อย่างมีวิจารณญาณ สร้างสรรค์และน่าเชื่อถือไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น The study aims to explore the phenomena of information and digital knowledge access, to study needs regarding a training course of information and digital knowledge access, to develop a training course and observe its effectiveness, to investigate the developed training course by comparing the learning achievement of pre and post course taking, and to learn the satisfaction of participants enrolled in the developed curriculum. The study employed a research and development design and a mixed method. The research tools were a questionnaire, a semi-structured interview form, an evaluation form regarding a training course’s effectiveness, a pre and post-course taking a test, and a satisfaction survey form. The samplings were people in Muang district and Manang district of Satun province and experts. It was a purposive sampling design since specific criteria of the participants were set. First, the researchers analyzed data qualitatively using content analysis based on the categorization concept. Then, the researchers analyzed quantitative data with descriptive statistics; frequency, percentage, standard deviation, t-test, and z-test. The finding was as follows: 1. In terms of conditions in accessing information and digital knowledge concerning government services, most people do not own electronic devices to access those above in daily life, which might lead to insufficient information about government services as well as a generation gap which might affect how people consume information since it was because of different economic status and unstable income. Furthermore, since most locals are farmers, they might have insufficient income to acquire electronic devices compatible with high-speed internet to access government information and services. Additionally, locals in the research area were divided into two generations: elders and young people. Therefore, experiences in using devices and needs regarding government service information and digital knowledge were not the main point in seeking digital knowledge as well as perceptions of government service information. 2. In terms of the needs for a training course in accessing information and digital knowledge concerning government services, most locals demonstrated instability, inconsistency, and inequality of information access and digital knowledge since they could not receive a service or get information from the government sufficiently. As a result, people might get incomplete important information about their benefits or rights. Further, it was found that the locals would like to take a training course regarding accessing information and digital knowledge concerning government services to learn and preserve their primary rights. Also, they highly needed information about government services, especially crucial information and knowledge related to their lives and communities. 3. In terms of developing a training course and investigating its effectiveness, the researchers found that a curriculum structure was complete, accurate, and practical to implement. It also related to elements stated in this research: a course title, descriptions, objectives, content, training plans, learning activities, materials, assessment and evaluation, references, participants, durations, digital technology application, and 21st-century skills. 4. The result of digital literacy workshop efficiency, it was found that the E1/E2 efficiency of Muang District was 80.14 / 81.30 and Manang District was 80.38 / 80.90, which was higher than the standard criteria set at 80/80, indicating that digital literacy workshop effective training courses. For the learning achievement and satisfaction degree of the participants, it was found that the participants from Muang district showed a t-test average score of before enrolling in the developed course 43.16 and after enrolling in the developed course 59.59. It increased by 38.06 percent. Next, the participants from Manang district showed a t-test average score of before enrolling in the developed course 42.77 and after enrolling in the developed course 58.54. It increased by 36.86 percent. The satisfaction degree was at the highest level, especially the aspect of the speakers encouraging the participants to apply knowledge into practice and fostering various critical skills. Based on this study’s findings, it is meaningful and practical for local government units or communities to hold a training course to lessen the inequality of information access and digital knowledge regarding government services. In addition, the training course could foster an awareness regarding the importance of information access and digital knowledge of the government services for people and local government sectors. As a result, locals would gain knowledge and possess skills that could help them access information and digital knowledge accurately and mindfully; moreover, they could decide to use information critically, creatively, and reliably for their own and other benefits. 2023-02-20T09:04:55Z 2023-02-20T09:04:55Z 2564 http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17811 th application/pdf มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตปัตตานี |