การวิจัยและพัฒนา เยียวยา สมานฉันท์ และสร้างสรรค์ชุมชนสุขภาวะชายแดนใต้
โครงการวิจัยและพัฒนา เยียวยา สมานฉันท์ และสร้างสรรค์ชุมชนสุขภาวะชานแดนใต้ ภายใต้แผนการบูรณาการโครงการวิจัยการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการสร้างนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ที่นำไปสู่การสร้างความเข้าใจ แนวทางสันติสุข การแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและความมั่นคงอย่างยั่งยืน มีว...
Saved in:
Main Authors: | , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2023
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17899 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | Thai |
Summary: | โครงการวิจัยและพัฒนา เยียวยา สมานฉันท์ และสร้างสรรค์ชุมชนสุขภาวะชานแดนใต้ ภายใต้แผนการบูรณาการโครงการวิจัยการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการสร้างนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ที่นำไปสู่การสร้างความเข้าใจ แนวทางสันติสุข การแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและความมั่นคงอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการวิจัยผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง ทั้งในกลุ่มเด็กกำพร้า/ยากไร้ หญิงหม้าย ผู้พิการ กลุ่มด้อยโอกาส และชุมชน พัฒนาต้นแบบในการแก้ไขปัญหาผลกระทบากสถานการณ์ความรุนแรงปัญหาสาธารณสุขและสังคม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการดำเนินงานทางโครงการได้เลือกพื้นที่ในการทำงานทั้ง 3 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 2) พื้นที่ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปิงนัง จังหวัดยะลา และ3) พื้นที่ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ภายใต้คำถามวิจัย สุขภาพกายใจเด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาสจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างไรบ้าง การศึกษาหรืออาชีพของเด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาสจังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างไรบ้าง และทัศนคติในการดำรงชีวิตในภาวะเหตุการณ์ความไม่สงบของเด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาสจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างไรบ้าง
วิธีการดำเนินงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action/research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาสที่มีอายุ 11-25 ปี โดยนักวิจัยจะอาศัยอยู่ในชุมชนโดยมีพี่เลี้ยงในชุมชนเป็นที่ปรึกษาและผู้ดูแล ทั้งนี้นักวิจัยจะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนเพื่อสร้างความคุ้นเคยและความไว้เนื้อเชื่อใจจากชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ให้ได้เรียนรู้ปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง กิจกรรมต่าง ๆ ที่นักวิจัยทำในพื้นที่เป็นทั้งกิจกรรมที่ชุมชนทำเป็นประจำทุกปี การพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ตามที่นักวิจัยต้องการและมีประโชน์ต่อพื้นที่ โดยผ่านการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น การอบรมวิธีการศึกษาจากชุมชน การพัฒนาโจทย์วิจัย การเขียนรายงานวิจัยและบทความทางวิชาการ เป็นต้น อย่างไรก็ตามก่อนจบโครงการ นักวิจัยจะต้องทำงานวิจัยอย่างน้อย 1 ชิ้นที่เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยมีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดูแลและให้คำปรึกษารวมถึงเป็นนักวิจัยด้วยเช่นกัน
ผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 3 พื้นที่ โดยได้ดำเนินงานกับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ เด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาส ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และกลไลการดูแลระดับพื้นที่ จากการดำเนินงานพบว่าเด็กและเยาวชนมีความกล้าแสดงออก มีความเป็นผู้นำและมีจิตอาสาทำงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้น เกิดกลุ่มเยาวชนที่มีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย และขับเคลื่อนหลักในชุมชน ผู้ปกครองเกิดความรู้ความเข้าใจในการดูแลลูก ๆ รวมถึงคนในครอบครัวมากขึ้น มีวิธีการดูแลลูก เข้าใจช่วงวัยของลูก ให้เวลากับลูก การสื่อสารเชิงบวกภายในครอบครัว การเลี้ยงลูกตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ครอบครัวได้รับการพัฒนาด้านอาชีพ จำนวน 7 ครอบ ส่งเสริมอาชีพให้มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แกนนำชุมชนให้วคามสำคัญและตระหนักถึงปัญหาของเด็กกำพร้าและด้อยโอกาส เกิดกองทุนเพื่อเด็กกำพร้าและด้อยโอกาส จำนวน 3 กองทุน คือ กองทุนออมทรัพย์ของชุมชนประจำมัสยิดนูรูลฮูดาบ้านโฆษิต สถาบันศึกษาปอเนาะนูรูลฟาลาฮบ้านซีโปร์ และกองทุนสหกรณ์ตาดีดาเพื่อเด็กกำพร้าด้อยโอกาสบ้านเขาตูม และมีภาคีเครือข่ายในการทำงานและขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน |
---|