สีรองพื้นกันสนิมจากยางธรรมชาติตัดแปร

เป้าหมายหลักของงานวิจัยนี้ คือ การเตรียมสารรองพื้นป้องกันสนิมจากยางธรรมชาติ ขั้นตอนแรกเป็นการเตรียมกราฟต์โคพอลิเมอร์ของยางธาติกับพอลิเมอร์เมทาคริลิก (NR-g-PMAA) โดยใช้เทคนิคพอลิเมอร์ไรเซชันแบบสารละลาย และวิเคราะห์ระดับการกราฟต์ของกรดพอลีเมทาคริลิกบนสายโซ่ยางธรรมชาติจากเทคนิค 2H-NMR การเตรียมสีรอง...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Bencha Thongnuanchan
Other Authors: Faculty of Sciecnce and Technology (Rubber Technology and Polymer Science)
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2023
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17910
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:เป้าหมายหลักของงานวิจัยนี้ คือ การเตรียมสารรองพื้นป้องกันสนิมจากยางธรรมชาติ ขั้นตอนแรกเป็นการเตรียมกราฟต์โคพอลิเมอร์ของยางธาติกับพอลิเมอร์เมทาคริลิก (NR-g-PMAA) โดยใช้เทคนิคพอลิเมอร์ไรเซชันแบบสารละลาย และวิเคราะห์ระดับการกราฟต์ของกรดพอลีเมทาคริลิกบนสายโซ่ยางธรรมชาติจากเทคนิค 2H-NMR การเตรียมสีรองพื้นกันสนิมทำโดยผสมสารละลายของ NR-g-PMAA กับผงสีและสารเชื่อมขวางไอโซไซยาเนต (poly-HD) โดยผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเอ็กซเรย์โฟโตอิเล็กตรอนสเปกโทรสโกปี (XPS) บ่งบอกถึงการเกิด พันธะเอไมต์และพันธะแอนไฮไดรด์ใโครงสร้างของยางกราฟต์เมื่อทำปฏิกิริยากับ (poly-HDI) ผลการทดสอบการยึดติดของสีรองพื้นด้วยเทคนิคการกรีด(Cross-cut test)และการทดสอบด้านการกัดกร่อนโดยการพ่นละอองน้ำเกลือ (Salt-spray test) ชี้ให้เห็นว่าการใช้ poly-HDI ที่อัตราส่วนโมล 2:1 ของ poly-pHDI MAA เป็นระดับที่เหมาะสมลามารถปรับปรุงสมบัติความเสถียรเชิงความร้อนของสีรองพื้นกันสนิม อีกทั้งยังพบว่าสีรองพื้นมีสมบัติการทนต่อสภาพอากาศ (Weather resistance)เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อผสม poly-HDI โดยพบว่าไม่ปรากฏชั้นของสนิมบนผิวเหล็กที่เคลือบด้วยสีรองพื้นผสม poly-pHDI หลังจากการทดสอบด้วยเครื่องเร่งสภาวะอากาศเป็นเวลา 500 h ในกรณีของแผ่นเหล็กที่เคลือบด้วยสีรองพื้นไม่ผสม poly-pHDI พบว่าเกิดชั้นของสนิมบนผิวชิ้นทดสอบอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นขณะทดสอบ โดยผลการวิเคราะห์สนิมที่เกิดขึ้นบนผิวเหล็กอาศัยเทคนิคเอกซเรย์ดิฟแฟรกชั่น (KRD) ชี้ให้เห็นว่าออกไซด์ของเหล็กที่ก่อตัวขึ้นจากการผุกร่อนประกอบด้วน 2 ชนิด หลักๆ คือ เลพิโดโครไซต์ (Lepidoerocite) และเกอไทต์ (Goethite) ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าการใช้สารละลายคอมพาวด์ของผสมของ NR-g-PMAA ร่วมกับ poly-pHDI ในปริมาณที่เหมาะ มีศักยภาพที่จะพัฒนา เป็นสีรองพื้นกันสนิมสำหรับเหล็ก