Functional group modification on the surface of chitosan film via reaction of amino group

ไคโตซานเป็นพอลิเมอร์จากธรรมชาติที่ได้จากการกำจัดหมู่แอซิทิลของไคติน โครงสร้างของไคโตซานประกอบไปด้วยหมู่ไฮดรอกซีและหมู่อะมิโนจำนวนมาก ซึ่งสามารถถูกดัดแปรได้โดยปฏิกิริยาเคมี ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่อะมิโนบนไคโตซานกับสารที่เป็นอนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก ได้แก่ ทาลิกและซักซินิกแอนไ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Noppong Pongchaisirikul
Other Authors: Varawut Tangpasuthadol
Format: Theses and Dissertations
Language:English
Published: Chulalongkorn University 2001
Subjects:
Online Access:https://digiverse.chula.ac.th/Info/item/dc:39821
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Description
Summary:ไคโตซานเป็นพอลิเมอร์จากธรรมชาติที่ได้จากการกำจัดหมู่แอซิทิลของไคติน โครงสร้างของไคโตซานประกอบไปด้วยหมู่ไฮดรอกซีและหมู่อะมิโนจำนวนมาก ซึ่งสามารถถูกดัดแปรได้โดยปฏิกิริยาเคมี ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่อะมิโนบนไคโตซานกับสารที่เป็นอนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก ได้แก่ ทาลิกและซักซินิกแอนไฮไดรด์ เมตา-ไอโอโดเบนโซอิลคลอไรด์ สเตียริลคลอไรด์และเฮพตะฟลูออโรบิวรีริลคลอไรด์ เพื่อสร้างพันธะแอมีด การดัดแปรหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิวของฟิล์มไคโตซานทำได้โดยแช่ฟิล์มในรีเอเจนต์ที่เหมาะสม จากการวิเคราะห์ทางพื้นผิวโดยเทคนิคเอ็กซ์เรย์โฟโตอิเล็กตรอนสเปกโตรสโกปี (เอ็กซ์พีเอส) พบธาตุฮาโลเจนซึ่งใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงผลสำเร็จในการตรึงสารประกอบที่มีธาตุฮาโลเจนกับไคโตซาน ผลจากการวิเคราะห์โดยการวัดมุมสัมผัสของน้ำบนพื้นผิวฟิล์มไคโตซานมีความชอบน้ำมากขึ้นหลังจากนำฟิล์มไปทำปฏิกิริยากับทาลิกและซักซินิกแอนไฮไดรด์ แต่สมบัติการชอบน้ำจะลดลงจากเดิมหลังจากนำฟิล์มไปทำปฏิกิริยากับสเตียริกแอซิด นอกจากนี้การสังเคราะห์อนุพันธ์ของหมู่อะมิโนที่อยู่บนพื้นผิวของฟิล์มได้รับการยืนยันโดยเทคนิคเอทีอาร์-เอฟทีไออาร์ และสุดท้ายวิธีการดัดแปรที่ใช้ในงานนี้ส่งผลกระทบบางส่วนต่อความสามารถในการดูดซับโปรตีนแอลบูมินและไลโซไซม์บนพื้นผิวฟิล์ม