รูปแบบความไม่สมดุลระหว่างการทุ่มเทกับรางวัลของแพทย์เขตกรุงเทพฯ

ดัชนีวัดความไม่สมดุลระหว่างการทุ่มเทกับรางวัล ซึ่งเป็นสัดส่วนระหว่างความพยายาม และการทุ่มเทให้กับงาน กับส่วนของรางวัลที่ได้จากการทำงาน เป็นดัชนีใช้ชี้ภาวะความตึงเครียดของ ผู้ทำงาน ได้นำมาศึกษาแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลขนาด 200 เตียงขึ้นไป ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 283 คน โดยแพทย์เป็นผู้กรอกแบบสอบถามด้วยต...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: มิกิโอะ ซูกาโมโต, สันทัด เสริมศรี, บุญยง เกี่ยวการค้า, ประกายรัตน์ สุขุมาลชาติ, โยธิน แสวงดี
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน
Format: Article
Language:Thai
Published: 2017
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2345
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:ดัชนีวัดความไม่สมดุลระหว่างการทุ่มเทกับรางวัล ซึ่งเป็นสัดส่วนระหว่างความพยายาม และการทุ่มเทให้กับงาน กับส่วนของรางวัลที่ได้จากการทำงาน เป็นดัชนีใช้ชี้ภาวะความตึงเครียดของ ผู้ทำงาน ได้นำมาศึกษาแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลขนาด 200 เตียงขึ้นไป ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 283 คน โดยแพทย์เป็นผู้กรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่งพบว่าแพทย์ส่วนใหญ่มภี าวะตึงเครียดน้อย จะมีเพียงร้อยละ 25 ที่มีภาวะความตึงเครียด ปัจจัยซึ่งมีอิทธิพลคือการเรียกร้องจากงานที่ทำ และความรับผิดชอบ (physical demand at work) อายุและเงินเดือนเป็นปัจจัยทางด้าน ลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อภาวะความตึงเครียด สำหรับแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐ ที่มีอายุ น้อยกว่า 55 และมีระดับเงินเดือนต่ำกว่า 75,000 บาท มีความตึงเครียดมากกว่าแพทย์ที่ทำงาน ในโรงพยาบาลเอกชน การทำงานในโรงพยาบาลเอกชน แพทย์มีความรู้สึกว่า รางวัลที่ได้จาก การทำงานมีมากกว่า ในทางกลับกันการทุ่มเทให้กับงานมีน้ำหนักมากกว่ารางวัลที่ได้จากงาน ในหมู่ ผู้ทำงานในโรงพยาบาลรัฐ