อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล

การวิจัยครั้งนี้มุ่งเพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานก...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา, คำรณ โชธนะโชติ, Aphisit Kunnaworapanya, Khamron Chotanachote
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54331
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มุ่งเพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล และ 4) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 362 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 และคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสัดส่วนของส่วนงาน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งระดับชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล มีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านบรรทัดฐานทางสังคม และด้านความต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน และสถานภาพของบุคลากรแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก (r = 0.758) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถร่วมพยากรณ์ได้ดี ประกอบด้วย ด้านความดีความชอบ (X14) ด้านลักษณะของเนื้องาน (X3) ด้านการยอมรับ (X2) ด้านเงื่อนไขการงาน (X10) ด้านสัมพันธภาพกับผู้บริหาร (X9) ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน (X12) ด้านการบริหารและการจัดการ (X7) ด้านความรับผิดชอบที่ได้รับ (X4) ด้านความยุติธรรม (X13) ด้านความก้าวหน้า (X5) และด้านสถานะทางสังคม (X6) ตามลำดับ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.855 ค่าประสิทธิภาพการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.730 สามารถทำนายความผูกพันต่อองค์การ ได้ร้อยละ 72.2 มีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ ± 0.251 และมีค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ เท่ากับ 0.762 โดยสามารถสร้างสมการในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y/ = 0.762 + 0.224 (X14) + 0.264 (X3) + 0.318 (X2) + 0.092 (X10) + -0.203 (X9) + 0.112 (X12) + 0.158 (X7) + -0.154 (X4) + 0.065 (X13) + -0.116 (X5) + 0.076 (X6) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z/ = 0.320 (X14) + 0.321 (X3) + 0.397 (X2) + 0.128 (X10) + -0.284 (X9) + 0.129 (X12) + 0.193 (X7) + -0.123 (X4) + 0.112 (X13) + -0.146 (X5) + 0.082 (X6)