พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในช่วงเดือนถือศีลอด ของชาวไทยมุสลิม จังหวัดพังงา

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อ สุขภาพในช่วงเดือนถือศีลอดของชาวไทยมุสลิมจังหวัดพังงา โดยประยุกต์กรอบแนวคิด PRECEDE Framework เป็น แนวทางในการกำหนดกรอบการศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ชาวไทยมุสลิมอายุ 21-60 ปี จำนวน 151 คน รว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: จรรยา สงวนนาม, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, นิรัตน์ อิมามี, ธราดล เก่งการพานิช, Janya Sanguannam, Prasit Leerapan, Nirat Imamee, Tharadol Kengganpanich
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/61915
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อ สุขภาพในช่วงเดือนถือศีลอดของชาวไทยมุสลิมจังหวัดพังงา โดยประยุกต์กรอบแนวคิด PRECEDE Framework เป็น แนวทางในการกำหนดกรอบการศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ชาวไทยมุสลิมอายุ 21-60 ปี จำนวน 151 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคร์-สแคว (Chi-Square) และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเปียสัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในช่วงเดือนถือศีลอดอยู่ในระดับ ดี (31.1%) ระดับปานกลาง (53.6%) และระดับไม่ดี (15.2%) เพศ สถานภาพในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในช่วงเดือนถือศีลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) การรับรู้คุณค่าของ การถือศีลอดต่อสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.184, p=0.040) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ควรมีการสนับสนุนให้หัวหน้าครัวเรือนมีบทบาทหลักในการ ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในระดับครัวเรือน และการจัดทำโปรแกรมสุขศึกษาที่เสริมสร้างการ รับรู้คุณค่าการถือศีลอดต่อสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ