ผลการออกกำลังกายด้วยเพลงลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้านต่อการเพิ่มสมรรถภาพการทรงตัวในผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้ม

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฝึกลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้านต่อการเพิ่มสมรรถภาพการทรงตัวในกลุ่มผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้ม วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยฝึกลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้าน 30 นาทีต่อครั้ง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบหาค่า Timed up and go (TUG), Berg Balance...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อภิพรรณ เอี่ยมชัยมงคล, ฐิติพร ภักดีพิบูลย์, นพวรรณ แสนเจริญสุทธิกุล, ปภาวดี สุนทรธัย, Apiphan Iamchaimongkol, Thitiporn Phakdepiboon, Nopawan Sanjaroensuttikul, Paphawadee Soontorntai
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79580
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฝึกลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้านต่อการเพิ่มสมรรถภาพการทรงตัวในกลุ่มผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้ม วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยฝึกลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้าน 30 นาทีต่อครั้ง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบหาค่า Timed up and go (TUG), Berg Balance Scale, Single Leg Stance Test ขาขวาและขาซ้าย (SLST-Rt and SLST-Lt) และความเร็วขณะเดินบนพื้นราบ โดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการฝึกการทรงตัวประกอบเพลงลีลาศจังหวะบีกินครบตามโปรแกรม ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 21 ราย อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) คือ 68 (6.4) ปี พบว่าค่าความแตกต่างก่อนและหลังฝึกของ TUG มีค่ามัธยฐาน (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์) เป็น 0.95 (-0.43, 2.48) วินาที และค่าความแตกต่างก่อนและหลังฝึกของ Berg Balance Scale, SLST-Rt, SLST-Lt และความเร็วขณะเดินบนพื้นราบ มีค่าเฉลี่ย (95% CI) เป็น 4.81 (3.18, 6.44), 2.07 (0.32, 3.82) วินาที 2.37 (0.96, 3.78) วินาที และ 0.22 (0.11, 0.32) เมตรต่อวินาทีตามลำดับ โดยค่าตัวแปร TUG, Berg Balance Scale, SLST-Rt, SLST-Lt และความเร็วขณะเดินบนพื้นราบ ภายหลังการฝึกลีลาศจังหวะบีกินครบตามโปรแกรมดีขึ้นกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) สรุป: การฝึกทรงตัวประกอบเพลงลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้าน 30 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 6 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวของร่างกายและช่วยเพิ่มความเร็วในการเดิน ในกลุ่มผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้ม