ข้าวเฉี้ยงปากรอ: สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อสิทธิชุมชน
ข้าวเฉี้ยง เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองในคาบสมุทรสทิงพระโดยเกษตรกรชาวนาตำบลปากรอนิยมปลูกข้าวเฉี้ยงไว้กินเองขณะที่ปลูกข้าวอื่นไว้ขายตามความต้องการของตลาด จนมีคำกล่าวว่า “กินข้าวเฉี้ยงแล้วจะติดใจ ไม่ยอมกินข้าวอื่นอีกเลย” คณะนิติศาสตร์จึงเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งของข้าวเฉี้ยงปากรอโดยใช้ก...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2018
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11880 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | Thai |
Summary: | ข้าวเฉี้ยง เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองในคาบสมุทรสทิงพระโดยเกษตรกรชาวนาตำบลปากรอนิยมปลูกข้าวเฉี้ยงไว้กินเองขณะที่ปลูกข้าวอื่นไว้ขายตามความต้องการของตลาด จนมีคำกล่าวว่า “กินข้าวเฉี้ยงแล้วจะติดใจ ไม่ยอมกินข้าวอื่นอีกเลย” คณะนิติศาสตร์จึงเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งของข้าวเฉี้ยงปากรอโดยใช้กระบวนการตามกฎหมาย คือในเรื่องของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อสร้าง Smart Farmer ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ โดยศึกษาความเป็นไปได้ในการขอขึ้นทะเบียน การดำเนินการเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สิทธิและประโยชน์ต่างๆที่กลุ่มเกษตรกรจะได้รับจากการที่สินค้าของตนได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การดำเนินการเตรียมความพร้อมแก่กลุ่มเกษตรกรเพื่อการขอขึ้นทะเบียนคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวเฉี้ยงปากรอ รวมถึงประเด็นปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 และการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมาย ทั้งนี้ จากการดำเนินการพบว่า กลุ่มเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มากขึ้นรวมถึงการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการที่จะขึ้นทะเบียนสินค้าเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ อย่างไรก็ดีแม้กฎหมายจะให้สิทธิประชาชนในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้วยตนเองได้ก็ตาม แต่การรวบรวมข้อมูลต่างๆ รวมถึงการควบคุมคุณภาพการผลิตนั้น ผู้ที่ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนไม่สามารถทำเองได้หากขาดความช่วยเหลือจากองค์กรอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทางหน่วยงานราชการ ประกอบกับปัญหาโดยสภาพของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นสิทธิชุมชนหรือสิทธิที่มีความเป็นเจ้าของร่วมก่อให้เกิดอุปสรรคในการบังคับใช้สิทธิบางประการอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมาตรการบังคับสิทธิก็ ไม่มากเพียงพอที่จะก่อให้เกิดความตระหนักรู้และสร้างคุณค่าแก่สินค้าภูมิศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน |
---|