การถ่ายทอดความสุภาพในถ้อยคำแสดงความคิดเห็นในบริบททางการแพทย์ : กรณีศึกษาบทบรรยายใต้ภาพภาษาไทยเรื่อง Grey’s Anatomy

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายทอดความสุภาพในถ้อยคำแสดงความคิดเห็นเป็นบทบรรยายใต้ภาพ โดยใช้กรอบแนวคิด Grand Strategy of Politeness ของลีช (Leech, 2007) และนำกลวิธีการแปลของนิวมาร์ค (Newmark, 1988) มาปรับใช้ ข้อมูลวิจัยมาจากบทสนทนาภาษาอังกฤษของละครชุดทางโทรทัศน์แนวชีวิตแพทย์ เรื่อง Grey’s An...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ศรัญญา ฉั่วเจริญศิริ, กฤตยา อกนิษฐ์, Saranya Chuacharoensiri, Krittaya Akanisdha
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54756
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายทอดความสุภาพในถ้อยคำแสดงความคิดเห็นเป็นบทบรรยายใต้ภาพ โดยใช้กรอบแนวคิด Grand Strategy of Politeness ของลีช (Leech, 2007) และนำกลวิธีการแปลของนิวมาร์ค (Newmark, 1988) มาปรับใช้ ข้อมูลวิจัยมาจากบทสนทนาภาษาอังกฤษของละครชุดทางโทรทัศน์แนวชีวิตแพทย์ เรื่อง Grey’s Anatomy จำนวน 8 ตอน ผลการศึกษาพบการใช้ถ้อยคำแสดงความสุภาพที่เน้นการให้คุณค่ากับความคิดเห็นของผู้ฟังในระดับสูงและความคิดเห็นของผู้พูดในระดับน้อยรวมกันทั้งหมด 773 ถ้อยคำ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการกล่าวทวนถ้อยคำผู้ฟัง ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความสุภาพโดยให้คุณค่ากับผู้ฟังในระดับสูงที่ Leech (2007) ไม่ได้กล่าวถึง ส่วนการถ่ายทอดความหมายด้านความสุภาพ พบการแปลเอาความมากกว่าการแปลตรงตัวสำหรับถ้อยคำแสดงความสุภาพด้านความคิดเห็น กลวิธีหลักที่นักแปลเลือกใช้ในการแปลเอาความ ได้แก่ 1) กลวิธีการแปลโดยอธิบายความ 2) กลวิธีการแปลโดยใช้คำตามวัฒนธรรมของภาษาปลายทาง และ 3) การแปลโดยปรับไวยากรณ์ให้เข้ากับภาษาปลายทาง อีกทั้งพบการละไม่แปลที่สื่อความหมายด้านความสุภาพ โดยผู้ชมสามารถทำความเข้าใจสารด้านความสุภาพผ่านทางอวัจนภาษาที่ปรากฏบนหน้าจอแทนบทบรรยายใต้ภาพได้